Call Center 1183
ความเข้าใจของคนไทยต่อโรคร้ายแรง เป็นเรื่องที่น่ากังวล

ความเข้าใจของคนไทยต่อโรคร้ายแรง เป็นเรื่องที่น่ากังวล

เฟร็ดเดอริค โจเซฟ เฮกเนอร์,

ผู้จัดการสุขภาพส่วนภูมิภาค กลุ่มบริษัท ทูนโพรเทค: มุ่งเน้นที่ความเรียบง่ายและการสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าประกันภัยของเรา

เผยแพร่ 29 กันยายน 2565


 

เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ประเทศไทยยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคร้ายแรงซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่มีอิทธิผลเป็นอย่างมากต่อประชากรในพื้นที่และการขาดความตระหนักรู้นี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนคนไทย

 

การป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง เป็นปัจจัยที่ทำให้โรงพยาบาลในประเทศไทยมีความแออัดเพิ่มขึ้น นอกจากโรคเหล่านี้ โรคหัวใจก็ดูเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับประเทศไทยรวมถึงโรคมะเร็งที่จะเห็นได้ชัดว่ามีคนเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยพบว่าว่าประเทศไทยอาจเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต

 

โรคร้ายเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นใครหากคุณเป็นโรคเหล่านี้มันจะสร้างความลำบากให้กับชีวิตคุณ การดูแลรักษาก็เป็นเรื่องยากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้มีรายได้จำกัด โดยบริษัทประกันจะสามารถเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือสำหรับกลุ่มคนที่ต้องการได้รับการคุ้มครองด้านโรคร้ายแรงได้

 

ทำไมต้องมี ประกันโรคร้ายแรง myFiexi CI?

Tune Protect Thailand (TPT) ยินดีที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้าและสามารถช่วยเหลือลูกค้าได้ในเวลาที่ลูกค้าต้องการ ผลิตภัณฑ์ myFlexi CI ปกป้องลูกค้าให้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ หากป่วยเป็นโรคร้ายแรง โดยลูกค้าจะสามารถปรับแต่งแผนการคุ้มครองที่ต้องการได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสผ่านแอปพลิเคชัน ทูนทัช (TuneTOUCH) หรือทางเว็บไซต์ คลิก

 

 

มันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องหาวิธีป้องกันอันตรายที่เกิดจากโรคร้ายแรงก่อนที่มันจะสร้างความรุนแรงมากขึ้นและส่งผลต่อประเทศของเรา โรคร้ายแรงลำดับต้นๆที่เกิดกับคนไทยจะถูกรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ myFlexi CI โดยจากผลสำรวจ พบว่าโรคเหล่านี้มีผลทำให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

myFlexi CI จะทำให้ลูกค้าสามารถซื้อประกันภัยและได้รับการคุ้มครองผ่านช่องทางดิจิทัล ซึ่งตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราทั้งกลุ่ม “มิลเลนเนียล” และ “ซิลเลนเนียลส์ โดยจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตอยู่แล้วและจะเป็นอุปกรณ์หลักในการใช้งานประกันภัยแบบดิจิทัลของเรา

 

 

เนื่องการความตระหนักรู้ของผลกระทบที่เกิดจากโรคร้ายแรงยังมีอยู่น้อย ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาก็พบว่าโรคร้ายแรงเป็นอันตรายต่อประเทศไทย Tune Protect Thailand  (TPT)  ได้ร่วมมือกับหน่วยงานทางการแพทย์สองแห่ง ได้แก่ Health2GO และ myEliteDoctor และเพิ่มการบริการเพิ่มเติมจาก myFlexi CI

 

Health2GO เป็นบริการการแพทย์ทางไกลที่คุณต้องชื่นชอบ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เสริมเข้ามาจากผลิตภัณฑ์หลักของเราโดยให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับลูกค้าของเราและสามารถเข้าถึงแพทย์ได้ทุกที่ทุกเวลา

 

 

myEliteDoctor ให้บริการความเห็นที่สองทางการแพทย์สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งหรือโรคหัวใจ

 

 

5 อันดับสถิติโรคร้ายแรง ของประเทศไทยในรอบปี

คนไทยส่วนใหญ่กลัวว่าตนเองจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด จากข้อมูลพบว่า ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่มีโอกาสเป็นโรคนี้ แต่โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะ “โรคหลอดเลือดหัวใจ” เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในประเทศไทยด้วย โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้คืออาหารการกินของเราและพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป โดยพบว่าคนไทยกินอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูงและยังออกกำลังกายน้อยประกอบกับการที่คนมีความเครียดสูงมากขึ้น นอกจากนี้พันธุกรรมก็มีบทบาทต่อการเกิดโรคเช่นกัน

 

ตามข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เผยแพร่ในปี 2020 การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในประเทศไทยมีจำนวนถึง 51,305 หรือคิดเป็น 11.53% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด อัตราการเสียชีวิตคิดเป็น 46.80 ต่อประชากร 100,000 คน โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 165 ของโลก

 

สถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีคนจำนวนมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆที่มีอาการโรคหัวใจวาย การเกิดโลกาภิวัตน์ระดับภูมิภาคและอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านระบาดวิทยาของภูมิภาค ปัจจุบัน คุณภาพการรักษาดูแลผู้ป่วยโรคภาวะหัวใจล้มเหลวยังคงไม่เป็นไปตามแบบที่เราคาดหวังแม้ว่าจะมีการพัฒนาการรักษารวมถึงหรือคำแนะนำต่าง ๆจากผู้เชี่ยวชาญที่ดีขึ้นก็ตาม

 

ไตวายหรือที่เราเรียกว่า "Silent Killer" เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการตายอันดับสองของโลก โดยในประเทศไทย 11.6 ล้านคนหรือคิดเป็น(17.5%) ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง และมีถึง 5.7 ล้านคน (8.6%) เป็นโรคไตขั้นรุนแรง(ในระยะที่ 3-5) และมีคนมากกว่า 0.1 ล้านคนที่ต้องทำการฟอกไต  โดยในทุกปีจะมีผู้ป่วยโรคไตมากกว่า 20,000 คนต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกไต (HD) หรือการล้างไตทางช่องท้อง (PD)

 

ในปี พ.ศ. 2552 จากข้อมูลกลุ่มศึกษาไทย - คัดกรองและประเมินโรคไตในระยะเริ่มต้น (SEEK) มีรายงานว่าการแพร่หลายของผู้ป่วยโรคไตในประเทศไทยอยู่ที่ 17.5% โดยแบ่งเป็นระยะ 1, 2 และ 3 และ 4 ที่ 3.3, 5.6, 7.5 และ 1.1% ตามลำดับ โดยตัวเลขที่สูงที่สุดจะอยู่ที่กรุงเทพมหานคร (23.9%) รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (22.2%) และภาคเหนือ (20.4%) โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ไม่เพียงแต่จะพบโรคนิ่วในไตแต่โอกาสการเป็นโรคไตของคนในพื้นที่นี้มีสูงมากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ

 

นอกจากนี้ การรับรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังในหมู่คนไทยนั้นยังต่ำมาก โดยความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากเราตรวจพบโรคไตได้เร็วจะช่วยทำให้สามารถป้องกันและทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ความรุนแรงของโรคลดลงและลดอัตราการเสียชีวิต (Cha’On, 2020)

 

ถึงแม้ว่าโรคไตวายจะไม่ได้ถือว่าเป็นโรคที่อันตรายที่สุดสำหรับคนไทยแต่มันก็ยังทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก และส่งผลไปยังครอบครัวผู้ป่วยอีกด้วย โดยมีการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD) ที่ต้องการ การฟอกไตและ/หรือการปลูกถ่ายเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในประเทศไทยภายในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา (Ong-ajyooth et al., 2009)

 

จำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยถือเป็นสถานการณ์ที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นและมะเร็งถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 1997 อัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งของประเทศอยู่ที่ 43.8 คนต่อประชากร 100,000 คน และมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 120.5 คนต่อประชากร 100,000 คนในปี 2560

 

จากรายงานล่าสุดของ Global Cancer Incidence, Mortality and Prevalence ที่ตีพิมพ์ในปี 2018 พบว่า มะเร็งปอดถือเป็นชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทยและคิดเป็น 14.1% ของมะเร็งทุกชนิด (โดย 70% ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะลุกลาม) นอกจากนี้ โรคมะเร็งปอดนั้นมีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับสองของประเทศไทย (18.7%) รองจากมะเร็งตับซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด (20.3%) จากข้อมูล ณ ปี 2561 (Reungwetwattana et al., 2020)

 

ในปี 2563 เพียงแค่ปีนี้ปีเดียว มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่สูงถึง 190,636 รายในประเทศไทยและคาดการณ์ว่าภายในปี 2040 จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 290,000 ราย ( ข้อมูลจาก Global Cancer Observatory ) นอกจากนี้ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับโรคมะเร็งในประเทศไทยในปี 2020  พบว่า การเกิดโรคมะเร็งในประเทศไทยนั้นยังต่ำกว่าในสหรัฐอเมริกามาก อย่างไรก็ตาม ในหมู่ผู้ชายในประเทศไทย ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด  คือ  มะเร็งตับและท่อน้ำดี หลอดลม ปอด ไส้ตรงลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทยสำหรับผู้หญิง 3 อันดับแรกจะแตกต่างจากของผู้ชาย ซึ่งได้แก่ เต้านม ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก และปากมดลูก (โจนส์, 2020).

 

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อยังอาจเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย โดยประเทศไทยได้ผ่านการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสุขภาพซึ่งจะคล้ายๆ กับประเทศเกิดใหม่อื่น ๆ เมื่อเวลาผ่านไป โครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศถูกเปลี่ยนจากระบบเกษตรกรรมเป็นระบบอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟู

 

ผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ประชากรในชนบทส่วนใหญ่เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองเพิ่มขึ้นและทำให้ลักษณะการใช้ชีวิตของคนจำนวนมากนั้นเปลี่ยนไปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญ จากการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ประกอบด้วยข้าวและผักเป็นหลัก กลายเป็นการกินอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงเหมือนชาวตะวันตก นอกจากนี้ การขยายตัวของเมืองได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการแข่งขันของชุมชนและทำให้เวลาที่ใช้ที่บ้านลดลง เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะเน้นความสะดวกและความรวดเร็วเป็นหลัก อาหารจานด่วนจึงเข้ามาแทนที่อาหารที่เราทำกินเองที่บ้านและถือเป็นทางเลือกหลักของครอบครัวปัจจุบัน

 

ปัจจุบันคนมีการออกกำลังกาย หรือขยับตัวลดลงและใช้เวลานั่งอยู่กับที่มากขึ้น ส่งผลให้มีคนจำนวนผู้มากเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง จากข้อมูลของ Suwanwela (พ.ศ. 2557) พบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความทุพพลภาพของคนไทย คาดว่ามีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่มากกว่า 250,000 รายในทุก ๆปี โรคหลอดเลือดสมองทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 50,000 รายต่อปี กระทรวงสาธารณสุขจัดอันดับโรคหลอดเลือดในสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของทั้งผู้หญิงและผู้ชายซึ่งถือเป็นสถิติที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและสำหรับผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้ มันกลับสร้างภาระแก่ผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขา โรคหลอดเลือดในสมองถือเป็นโรคที่สร้างภาระสูงที่สุดจากการจัดอันดับโดย disability-adjusted life years (DALYs)

 

และสุดท้ายโรคเบาหวาน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรคที่น่าวิตกเป็นอย่างมาก เพราะเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตที่สูงเช่นกันและดูมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โรคเบาหวานถือเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลกและมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆรวมถึงในประเทศไทยเช่นเดียวกัน อัตราคนเป็นเบาหวานในไทยอยู่ที่ 9.6% (2.4 ล้านคน) แบ่งเป็น 4.8%ที่ได้รับการตรวจพบโรคก่อนหน้านี้และ 4.8% ที่พึ่งตรวจพบโรคใหม่

 

อัตราคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอยู่ที่ 5.4% (1.4 ล้านคน) และสำหรับคนที่ได้รับการตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวาน,  คนที่เป็นเบาหวานแต่ยังไม่ได้ตรวจพบ และ คนที่มีที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ พบว่ามีสาเหตุจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ค่าดัชนีมวลกาย อัตราส่วนเอวต่อสะโพก ความดันโลหิตซิสโตลิก คอเลสเตอรอลรวม และระดับครีเอตินีนในเลือด

 

ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่จะได้รับคำแนะนำด้านอาหารหรือการปรับพฤติกรรมต่างๆ และ 82% ได้รับการรักษาด้วยยาลดน้ำตาลในเลือด โดย 67% ได้รับการรักษาผ่านการบำบัดด้วยการลดความดันโลหิตโดยเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย (Aekplakorn et al., 2003)

 

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศในเอเชียที่มีสัดส่วนคนเป็นโรคเบาหวานสูง โดยมีคนไทยเสียชีวิตกว่า 200,000 รายต่อปีจากโรคเรื้อรังและผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานประมาณ 30,000 ราย ซึ่งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

 

จากการสำรวจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แสดงให้เห็นว่าความชุกของโรคเบาหวานในผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจาก 7.1% ในปี 2547 เป็น 7.5% ในปี 2552 และมีสัดส่วนของการไม่รู้ว่าตนเป็นเบาหวานลดลงจาก 66% ในปี 2547 เป็น 33% ในปี 2552 ในขณะที่สัดส่วนการรักษาและควบคุมโรคเบาหวานทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2547 เป็น 31% ในปี 2552 (Aekplakorn et al., 2018)

 

 

จากสถิติดังกล่าว เราสามารถสรุปได้ว่าระดับความตระหนักของคนไทยเกี่ยวกับโรคร้ายแรงนั้นยังมีค่อนข้างต่ำ  โดยการเปิดตัว myFlexi CI เมื่อปีที่แล้วของเรานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคร้ายแรงเป็นเรื่องที่ต้องถูกจัดการเป็นอันดับต้นๆของคนไทย โดยหวังว่าตัวเลขทางสถิติที่ได้กล่าวมาจะเริ่มดีขึ้นและประเด็นความเสี่ยงด้านสุขภาพเหล่านี้จะถูกนำมาแก้ไขทันที

 

ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่กังวลกับโรคเบาหวานโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ Bao Wan Protect เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จากทาง Tune Protect Thailand ที่คุ้มครองโรคเบาหวาน ผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์นี้จะได้รับความคุ้มครองอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับโรคเบาหวาน จากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเรื้อรั้ง รวมถึงโรคเบาหวานนั้น ผลิตภัณฑ์นี้จะมีประโยชน์ต่อผู้คนจำนวนมากที่จะได้รับการคุ้มครองด้านสุขภาพและเพิ่มความตะหนักรู้ของโรคร้ายแรง

 

ในขณะเดียวกัน ถึงแม้ว่า Tune Protect Malaysia จะไม่มีผลิตภัณฑ์ที่คุ้มครองเฉพาะโรคเบาหวาน แต่จะมีผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวใหม่เรียกว่า Critical Safe+ โดยจะมีส่วนการคุ้มครองของโรคเบาหวานรวมอยู่ในนั้น

 

 

Tune Protect จะยังคงคิดค้นและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าต่อไป ด้วยเป้าหมายและ พันธกิจที่ชัดเจน เราจะมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทที่ให้บริการประกันภัยที่ดีขึ้นเพื่อให้ลูกค้าของเรารู้สึกปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองอยู่เสมอ

 

*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขของเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
สนใจสอบถามเพิ่มเติม: 1183 หรือ Line@ : @tuneprotect

 



บทความที่เกี่ยวข้อง

ประกันโรคร้ายแรง ต้องร้ายแรงแค่ไหนประกันถึงจะดูแล

ประกันโรคร้ายแรง ต้องร้ายแรงแค่ไหนประกันถึงจะดูแล

โรคร้ายแรงคงไม่มีใครอยากเป็น หากคุณกำลังมองหาประกันคุ้มครองโรคร้าย เพื่อวางแผนรับมือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น Tune Protect ขอพาไปดูว่าโรคร้ายแรงอะไรบ้างที่ประกันจะดูแล

ประกันโรคมะเร็งควรทำตอนอายุเท่าไหร่

ประกันโรคมะเร็งควรทำตอนอายุเท่าไหร่

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดของคนไทย ประกันมะเร็งจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการดูแลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แล้วประกันมะเร็งควรทำตอนอายุเท่าไหร่ Tune Protect มีคำตอบ

จะซื้อประกันโรคร้ายแรงผ่านเว็บไซต์ต้องรู้อะไรบ้าง

จะซื้อประกันโรคร้ายแรงผ่านเว็บไซต์ต้องรู้อะไรบ้าง

ซื้อประกันภัยโรคร้ายแรงแบบออนไลน์ ต้องรู้อะไรบ้าง Tune Protect Thailand รวบรวมสิ่งที่ต้องรู้ก่อนซื้อเพื่อเป็นข้อมูล และเลือกแผนประกันโรคร้ายแรงที่ตอบโจทย์มากที่สุด