Call Center 1183

การกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัท (Board of Directors)

ทูนประกันภัย ดำเนินกิจการบนหลักบรรษัทภิบาล และการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยกำหนดกรอบการบริหารและดูแลธุรกิจประกันภัยอย่างเป็นระบบ รวมถึงหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ในการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์และกลยุทธ์ของบริษัท โดยคณะกรรมการบริษัทของ ทูนประกันภัย มีดังต่อไปนี้

  • 1. นาย สรจักร เกษมสุวรรณ - ประธานคณะกรรมการบริษัท
  • 2. นาย สมชัย ไชยศุภรากุล - กรรมการ
  • 3. นาย ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ - กรรมการ
  • 4. นาย สิทธิชัย กฤชวิวรรธน์ - กรรมการ
  • 5. นาย โมฮัมเหม็ด รัชดิ บิน โมฮัมเหม็ด กาซาลลิ - กรรมการ
  • 6. นาย โรฮิท จันทราเสการัน นัมเบียร์ - กรรมการ
  • 7. นาย โมห์ด ยูซอฟ ฮาฟิซ บิน โมฮัมหมัด - กรรมการ

กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance Policy & Framework)

บริษัท ทูนประกันภัย จำกัด (มหาชน) กำหนดกรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อส่งเสริมการพัฒนา จัดทำ และดูแลนโยบายของบริษัท รวมถึงกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของบุคลากรที่สำคัญของบริษัท อาทิเช่น คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารของบริษัท รวมถึงพนักงานบริษัทในการดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ และหลักการบรรษัทภิบาล

การกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน และการสร้างบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการบริษัทในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน โดยมีหลักการดังต่อไปนี้

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท

  • 1. กำหนดทิศทางและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในภาพรวมของบริษัท และพิจารณาอนุมัตินโยบายและกลยุทธ์ในการดำเนินงานของบริษัท
  • 2. กำกับดูให้บริษัทมีนโยบายการดำเนินงานที่เหมาะสมทั้งในส่วนของ นโยบายป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ นโยบายและกระบวนการแจ้งเบาะแสภายในองค์กร นโยบายการจ่ายค่าตอบแทน รวมถึง จรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจ
  • 3. กำกับดูแลให้บริษัทมีกระบวนการ และกลไลในการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบที่มีประสิทธิผล ทั้งในเรื่องการกำหนดโครงสร้างบริษัท การกำกับดูแลให้บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม การพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยของบริษัท การกำกับดูแลการสอบบัญชีของบริษัท การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท การกำกับดูแลให้บริษัทมีการเปิดเผยข้อมูลด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการกำกับดูแลเรื่องการจัดทำรายงานการเงินของบริษัท
  • 4. ติดตามกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกิจกรรมการกำกับดูแลด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย การดำเนินงานของผู้บริหาร การกำกับดูแลให้บริษัทมีเงินกองทุนที่มั่นคง การกำกับดูแลให้ผู้บริหารรายงานเรื่องที่สำคัญต่อคณะกรรมการบริษัท และการกำกับดูแลให้บริษัทมีการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม

บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร

  • 1. ปฏิบัติตามกลยุทธ์และนโยบายของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงการสร้างมูลค่าในระยะยาว และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • 2. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการให้บริษัท มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม มีการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง และปฏิบัติต่อผู้เอาประกันอย่างเป็นธรรม
  • 3. รายงานข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัท ระดับความเสี่ยงของบริษัท และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารต่อคณะกรรมการบริษัท
  • 4. ส่งเสริมให้บริษัทมีวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง ดูแล และควบคุมความเสี่ยงของบริษัทให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด

นอกจากนั้นบริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้คณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารปฏิบัติภารกิจให้บรรลุสำเร็จตามหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลในการควบคุมและบริหารงานบริษัท รวมถึงการคำนึงถึงส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม ภายใต้หลักการปฏิบัติความรับผิดชอบต่อตลาด (Market Conduct Principles)


การควบคุมภายใน

การควบคุมภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกรอบบรรษัทภิบาล เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัทให้มีความมั่นคงและแข็งแกร่ง โดยระบบการควบคุมภายใน ครอบคลุมถึง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการและนโยบายการเงิน รวมถึงการรายงานทางบัญชีและการเงิน การบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของทางการ ทั้งนี้ โครงสร้างการควบคุมภายในของบริษัท มีดังต่อไปนี้

  • 1. คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ในการดูแลภาพรวมของระบบการควบคุมภายใน ตรวจสอบนโยบาย รวมถึงกำกับดูแล เพื่อให้บริษัทมีการควบคุมภายในอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • 2. การบริหาร และควบคุมภายใน โดยผู้บริหารและพนักงานของบริษัท และรับผิดชอบในการบริหารงาน การให้คำแนะนำ ควบคุมในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบระดับแรก (1st Line of Responsibilities) เพื่อให้การควบคุมภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • 3. ฝ่ายกำกับดูแลธุรกิจ ฝ่ายบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ติดตามการดำเนินงานของพนักงานในหน่วยธุรกิจ รวมถึงให้คำแนะนำและดำเนินการใดๆ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการบริหารความเสี่ยง ตามหน้าที่ของผู้รับผิดชอบระดับที่สอง (2nd Line of Responsibilities)
  • 4. ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานของบริษัท การบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามหน้าที่ของผู้รับผิดชอบระดับที่สาม (3rd Line of Responsibilities)
  • 5. บริษัทได้ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจ หรือการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามกฎหมาย
  • 6. การปกป้องข้อมูลของบริษัท และลูกค้าเป็นหนึ่งในหลักการดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทมีมาตรการในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างเข้มงวด รวมถึงกระบวนการในการเก็บ รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และแนวทางตามที่ได้กำหนดไว้ในนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

คณะกรรมการชุดย่อย

คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)

รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ

  • 1. นาย โมฮัมเหม็ด รัชดิ บิน โมฮัมเหม็ด กาซาลลิ - ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
  • 2. นาย สมชัย ไชยศุภรากุล - กรรมการตรวจสอบ
  • 3. ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ - กรรมการตรวจสอบ

หน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบ

  • 1. พิจารณา อนุมัติ และกำกับดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามนโยบายที่สำคัญของบริษัท อาทิเช่น นโยบายควบคุมภายใน นโยบายต่อต้านคอรัปชั่นและสินบน นโยบายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย นโยบายป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ นโยบายบริหารความเสี่ยงด้านกลฉ้อฉล
  • 2. กำกับดูแลให้บริษัทมีการจัดทำรายงานทางการเงินที่น่าเชื่อถือ รวมถึง พิจารณาแต่งตั้ง และถอดถอนผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัท กำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงาน (Management Letter) และข้อคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูงและเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และจัดให้มีการประชุมระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบและผู้สอบบัญชีอย่างเป็นประจำ
  • 3. กำกับดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท และดูแลให้ผู้บริหารรายงานเรื่องที่สำคัญของบริษัท เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะปฏิบัติตามอำนาจ หน้าที่ และ ความรับผิดชอบได้อย่างสมบูรณ์

 

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee)

รายชื่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

  • 1. นาย โมห์ด ยูซอฟ ฮาฟิซ บิน โมฮัมหมัด - ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
  • 2. นาย สมชัย ไชยศุภรากุล - กรรมการบริหารความเสี่ยง
  • 3. นาย เบน อาศนะเสน - กรรมการบริหารความเสี่ยง
  • 4. นาย ดิกซัน วอง คิท เซง - กรรมการบริหารความเสี่ยง
  • 5. นาง เซ็ง ซู วี - กรรมการบริหารความเสี่ยง

หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

  • 1. กำหนดและพิจารณาทบทวนกรอบการบริหารความเสี่ยง นโยบายบริหารความเสี่ยง ขอบเขตการบริหารความเสี่ยง ครอบคลุมความเสี่ยงประเภทต่างๆที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลต่อรายได้ เงินกองทุน ชื่อเสียง การดำเนินงาน หรือการดำรงเงินกองทุนของบริษัท
  • 2. กำกับดูแลและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ ประเมินความเพียงพอและมาตรการบริหารความเสี่ยง รวมถึงประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของบริษัท
  • 3. จัดให้มีการประชุมเพื่อติดตามสถานะความเสี่ยง รวมถึงความคืบหน้าในการบริหารความเสี่ยงและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยง นโยบายและกลยุทธ์ของบริษัท และรายงานให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ
  • 4. สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

 

คณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee)

รายชื่อคณะกรรมการการลงทุน

  • 1. นาย ฮาว คิม เลียน - ประธานคณะกรรมการลงทุน
  • 2. นาย สมชัย ไชยศุภรากุล - กรรมการการลงทุน
  • 3. นาย เบน อาศนะเสน - กรรมการการลงทุน

หน้าที่ของคณะกรรมการการลงทุน

  • 1. จัดทำกรอบนโยบายการลงทุน และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  • 2. พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนของบริษัทเพื่อสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน และนโยบายบริหารความเสี่ยงของบริษัท
  • 3. กำกับดูแลการลงทุนของบริษัท ให้สอดคล้องกับนโยบายการลงุทน และตามที่กฎหมายกำหนด
  • 4. กำกับดูแลรายงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเพียงพอต่อการดำเนินงานด้านการลงทุน
  • 5. บริหารเงินทุนตามกรอบนโยบายการลงทุน และรายงานผลการลงทุนแก่คณะกรรมการของบริษัท