myFlexi CI
Call Center 1183
ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง

มายเฟล็กซี่ ซี ไอ

ประกันโรคร้ายแรง จาก Tune Protect

มีงบหลักพัน ก็มีประกันโรคร้ายแรงคุ้มครองทุกระยะหลักล้านได้ เพราะโรคร้ายแรงมีมากกว่าที่คิด! ประกันโรคร้ายแรงจาก Tune Protect พร้อมดูแลคุ้มครองโรคร้ายทุกระยะ และเลือกความคุ้มครองโรคร้ายเพิ่มเติมได้ตามต้องการ สมัครได้ตั้งแต่อายุ 18-60 ปี ต่ออายุได้ถึง 65 ปี ลดหย่อนภาษีได้ พร้อมบริการความเห็นที่สองทางการแพทย์และบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์

ได้เลือกทุกความต้องการ

  •  
    ได้! เลือกความคุ้มครองที่ใช่ สามารถเลือกกลุ่มโรคร้ายที่คุณกังวล
  •  
    ได้! เลือกแผนตามงบ ปรับ ลด-เพิ่ม เบี้ยประกันได้ตามใจ
  • ico_ci
    ได้! เลือกให้คุณหรือคนรัก มอบความคุ้มครอง แทนความห่วงใย ง่ายแค่คลิก

จุดเด่นแบบประกัน

headlight

เลือกปรับเพิ่ม-ลด ความคุ้มครองได้

headlight

คุ้มครองโรคร้ายทุกระยะ สูงสุดมากกว่า 3 ล้านบาท*

headlight

เลือกผ่อนได้ชิลๆ ผ่านบัตรเครดิต*

headlight

คุ้มครอง 5 กลุ่มโรคร้ายแรง

headlight

มีค่าชดเชยรายวัน และพยาบาลพิเศษ

headlight

มีบริการความเห็นที่สองทางการแพทย์ และปรึกษาแพทย์ออนไลน์

headlight

คุ้มครองถึงอายุ 65 ปี

headlight

สมัครได้เลย โดยไม่ต้องซื้อประกันชีวิต

headlight

เบี้ยประกันนำไปลดหย่อนภาษีได้*

headlight

ตอบคำถามสุขภาพแค่ 3 ข้อ ไม่ต้องไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล

พร้อมรับบริการเสริมทางการแพทย์ที่หลากหลาย

ทำไมต้องซื้อ myFlexi CI

  • พร้อมดูแลคุ้มครองโรคร้ายทุกระยะ
  • เลือกความคุ้มครองโรคร้ายเพิ่มเติมได้ตามต้องการ
  • รับมือสบายใจกับค่าใช้จ่ายก้อนโตในการรักษา

6 โรคร้ายอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนไทย

*จำนวนผู้เสียชีวิตต่อชั่วโมง
  • 7.7 โรคมะเร็ง
  • 3.2 โรคหลอดเลือดสมองแตก
  • 2.8 โรคภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง
  • 2.4 โรคปอดระยะสุดท้าย
  • 1.7 โรคไตวายเรื้อรัง
  • 1.0 โรคเบาหวาน
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2556, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, โรงพยาบาลกรุงเทพ

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายแรง

โรคมะเร็ง
  • การตรวจวินิจฉัย เริ่มต้น 30,000
  • การผ่าตัด เริ่มต้น 200,000
  • การให้ยาผ่านการฉายรังสี 100,000 – 500,000
  • การใช้เคมีบำบัด 400,000 – 1,200,000
  • รวม 1,930,000
  • (ไม่รวมค่าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในรวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ)
  • ที่มา: สถานบันมะเร็งแห่งชาติ
โรคหัวใจ
  • การรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน 200,000 – 1,000,000
  • การผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ 550,000 – 650,000
  • การตรวจด้วยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ เริ่มต้น 150,000
  • รวม 1,800,000
  • (ไม่รวมค่าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในรวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ)
  • ที่มา: สถาบันโรคทรวงอก
ci

สบายใจกว่า! เพราะเลือกผ่อนชำระได้

ชำระค่าเบี้ยสบาย ตามสไตล์คุณ ให้คุณผ่อนชำระค่าเบี้ยประกันภัยแบบเบาๆ ด้วยการผ่อนชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต หรือ ชำระเต็มจำนวนแบบรายปี ผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิตของทุกธนาคารในประเทศไทย
*เงื่อนไขการผ่อนชำระขึ้นอยู่กับธนาคารที่ร่วมรายการ และต้องมียอดขั้นต่ำ 3,000 บาทขึ้นไป

เงื่อนไขการขอเอาประกันภัย

  1. การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  2. ผู้ขอเอาประกันภัยต้องมีอายุ 18 – 60 ปีบริบูรณ์ (ต่ออายุได้ถึง 65 ปี)
  3. ผู้ขอเอาประกันภัยต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ก่อนวันที่ขอเอาประกันภัย
  4. แถลงสุขภาพ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ (กรณีที่ข้อมูลการแถลงสุขภาพไม่เพียงพอต่อการพิจารณารับประกันภัย ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการแจ้งขอตรวจสุขภาพก่อนรับประกันภัย)
  5. ข้อมูลในเอกสารนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผู้ขอเอาประกันภัย/ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครอง ผลประโยชน์ และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วโปรดศึกษาเพิ่มเติม
  6. เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์
  7. กรณีต้องการใบกำกับภาษีฯ หรือกรมธรรม์ฯ ให้จัดส่งทางไปรษณีย์ กรุณาติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า โทร. 1183
  8. ท่านสามารถใช้สิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ (Free Look Period) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Q&A

คำถามที่พบบ่อย

myFlexi CI คืออะไร?

  • จุดเด่นของประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI มีอะไรบ้าง?

    - คุ้มครองโรคร้ายทุกระยะ สูงสุดถึง 3,000,000 บาท*
    - เลือกปรับเพิ่ม-ลด ความคุ้มครองได้
    - คุ้มครอง 5 กลุ่มโรคร้ายแรง ถึงอายุ 65 ปี
    - มีค่าชดเชยรายวัน และพยาบาลพิเศษ
    - เบี้ยเริ่มต้นเพียงไม่ถึง 2 บาทต่อวัน
    - ตอบคำถามสุขภาพแค่ 3 ข้อ ไม่ต้องไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล
    - สมัครได้เลย โดยไม่ต้องซื้อประกันชีวิต
    - เบี้ยประกันนำไปลดหย่อนภาษีได้*
    - มีบริการความเห็นที่สองทางการแพทย์ และปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (ปรึกษาแพทย์ออนไลน์มีเฉพาะแผน4)

ความคุ้มครอง myFlexi CI

  • ประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI คุ้มครองกลุ่มโรคร้ายแรงอะไรบ้าง?

    ประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI กลุ่มโรคร้ายแรง มีดังนี้
        - กลุ่มโรคมะเร็ง
        - กลุ่มโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมอง
        - ไตและตับ
        - ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
        - การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญ และการปลูกถ่ายไขกระดูก

  • เมื่อซื้อประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI เสร็จแล้ว ความคุ้มครองจะเริ่มทันทีเลยไหม?

    โดยปกติประกันโรคร้ายแรง จะมีระยะเวลาที่ยังไม่เริ่มคุ้มครอง เพื่อป้องกันผู้ทำประกันที่รู้ว่าตัวเองป่วยหนัก ดังนั้นจึงมีเงื่อนไขที่ประกันจะเริ่มคุ้มครองภายหลังจากวันทำสัญญานับไปอีก 90 วัน

เงื่อนไขการพิจารณารับประกันภัย

  • ประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI คุ้มครองช่วงอายุเท่าไหร่บ้าง?

    สมัครได้ตั้งแต่อายุ 18-60 ปี ต่ออายุได้ถึง 65 ปี
  • ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI หรือไม่?

    ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงแค่ตอบคำถามสุขภาพ 3 ข้อ

เบี้ยประกันภัย

  • ค่าเบี้ยประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI จะปรับขึ้นตามอายุหรือไม่?

    เบี้ยประกันจะปรับตามช่วงอายุของผู้เอาประกันภัย

สนใจซื้อประกัน myFlexi CI

  • ประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI จำเป็นต้องซื้อพร้อมประกันชีวิตที่เป็นสัญญาหลักหรือไม่?

    ไม่จำเป็นต้องซื้อพร้อมประกันชีวิตที่เป็นสัญญาหลัก

  • การชำระเบี้ยประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI แบ่งชำระแบบใดได้บ้าง?

    กรณีชำระโดยบัตรเครดิต สามารถผ่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร

  • เราสามารถสมัครประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI ให้คนที่ห่วงใยได้หรือไม่?

    สามารถสมัครประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI ให้คนที่ห่วงใยได้ ผ่านหน้าเว็บไซต์ Tune Protect

ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?

  • เบี้ยประกันโรคร้ายแรง myFlexi CI สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?

    เบื้ยประกันนี้สามารถใช้ยื่นลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 383

หากต้องการแก้ไขข้อมูล

  • กรณีผู้เอาประกันภัยต้องการเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว ต้องดำเนินการอย่างไร

    สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ผ่านทางอีเมล [email protected] หรือโทร 1183

  • กรณีผู้เอาประกันภัยต้องการเปลี่ยนผู้รับประโยชน์ต้องทำอย่างไร

    สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ผ่านทางอีเมล [email protected] หรือโทร 1183

ขั้นตอนการแจ้งเคลม และเอกสารที่ต้องใช้

  • การเรียกร้องค่าสินไหม

    - ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือยื่นด้วยตนเอง: 3199 อาคารมาลีนนท์ ชั้น14 ถนนพระราม4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
    - ติดต่อแผนกสินไหมทั่วไป เจ้าหน้าที่สินไหม 02-078-5656
    - ติดต่อทางอีเมล: [email protected], [email protected]
    1. ตรวจสอบสิทธิ์รับแจ้งและเปิดเคลม
    2. ขอเอกสารเพิ่มเติม แจ้งผ่านอีเมล
    3. พิจารณาและตรวจสอบเอกสารที่ได้รับ
    4. แจ้งผลการพิจารณาค่าสินไหมทดแทน

  • กรณีโรคร้ายแรง

    กรุณานำส่งเอกสารประกอบการพิจารณาค่าสินไหมดังต่อไปนี้ (ฉบับจริง) 
    1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (คลิกดาวน์โหลดที่นี่) พร้อมกรอกข้อมูลครบถ้วนและถูกต้อง
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง (ID CARD)
    3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
    4. สำเนากรมธรรม์ของผู้เอาประกันภัย
    5. รายละเอียดบัญชีธนาคาร (Bank account details)
    6. ใบรายงานแพทย์ หรือใบรับรองแพทย์ระบุอาการสำคัญ ผลการวินิจฉัย และการรักษาพยาบาล
    7. ใบเสร็จรับเงิน (สำเนา) ที่แสดงรายการค่าใช้จ่าย และใบสรุปปิดหน้างบ (สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด) ของสถานพยาบาล พร้อมรายการยา และรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
    8. สำเนาประวัติการรักษาทั้งหมด(รับรองสำเนาโดยแพทย์) และรวมถึงผล Lap ทั้งหมด ผลการตรวจเนื้อเยื่อ เลือด หรือไขกระดูกทางกล้องจุลทรรศน์โดยพยาธิแพทย์ หรือแพทย์ทางโลหิตวิทยา (ฉบับจริง)
    9. เอกสารอื่นๆ ตามที่บริษัทฯร้องขอ

  • กรณีเสียชีวิต

    กรุณานำส่งเอกสารประกอบการพิจารณาค่าสินไหมดังต่อไปนี้ (ฉบับจริง)
    1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (คลิกดาวน์โหลดที่นี่)
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้รับผลประโยชน์
    3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้รับผลประโยชน์
    4. ใบเปลี่ยนชื่อนามสกุลของผู้เอาประกันภัย (ถ้ามี) พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้รับผลประโยชน์
    5. สำเนาใบมรณบัตร พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้รับผลประโยชน์
    6. สำเนาหนังสือรับรองการตาย (ออกโดยโรงพยาบาล) พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้รับผลประโยชน์
    7. รายงานบันทึกประจำวันการเกิดเหตุ (รับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี)
    8. รายงานสรุปสำนวนคดี และรูปถ่ายสถานที่เกิดเหตุ (ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี
    9. รายงานชันสูตรพลิกศพ (รับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี และแพทย์ผู้ทำการชันสูตร)
    10. รายงานการผ่าศพ (ถ้ามี) 
    11. สำเนาประวัติการรักษาทั้งหมดจากโรงพยาบาล ตั้งแต่เกิดเหตุจนกระทั่งเสียชีวิต
    12. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับผลประโยชน์ พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
    13. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์ พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
    14. ใบเปลี่ยนชื่อนามสกุลของผู้รับผลประโยชน์(ถ้ามี) พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 
    15. เอกสารแสดงความสัมพันธ์ กรณี ผู้รับผลประโยชน์ เป็น สามี/ภรรยา/บุตร เช่น ทะเบียนสมรส, หนังสือรับรองบุตร, สูติบัตรบุตร
    16. สำเนาหน้าบัญชีธนาคารแบบออมทรัพย์ ของผู้รับผลประโยชน์

  • กรณีสูญเสียอวัยวะและสายตา

    กรุณานำส่งเอกสารประกอบการพิจารณาค่าสินไหมดังต่อไปนี้ (ฉบับจริง)
    1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (คลิกดาวน์โหลดที่นี่)
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 
    3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 
    4. ใบรับรองแพทย์ตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน
    5. สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการ
    6. แบบประเมินการสูญเสียอวัยวะและสายตา จากแพทย์ผู้ทำการรักษา
    7. สำเนาประวัติการรักษาทั้งหมดจากโรงพยาบาล ตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน
    8. รูปถ่ายเต็มตัว / อวัยวะที่สูญเสีย ณ ปัจจุบัน
    9. รายงานบันทึกประจำวันการเกิดเหตุ (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี)
    10. รายงานสรุปสำนวนคดี และรูปถ่ายสถานที่เกิดเหตุ (ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี
    11. สำเนาหน้าบัญชีธนาคารแบบออมทรัพย์ ของผู้เอาประกันภัย

  • กรณีทุพพลภาพถาวร

    กรุณานำส่งเอกสารประกอบการพิจารณาค่าสินไหมดังต่อไปนี้ (ฉบับจริง)
    1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (คลิกดาวน์โหลดที่นี่)
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 
    3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 
    4. ใบรับรองแพทย์ตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน
    5. สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการ
    6. แบบประเมินการทุพพลภาพถาวร จากแพทย์ผู้ทำการรักษา
    7. สำเนาประวัติการรักษาทั้งหมดจากโรงพยาบาล ตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน
    8. รูปถ่ายเต็มตัวของผู้เอาประกันภัยในสภาพปัจจุบันที่เป็น
    9. รายงานบันทึกประจำวันการเกิดเหตุ (ถ้ามี) (รับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี)
    10. รายงานสรุปสำนวนคดี และรูปถ่ายสถานที่เกิดเหตุ (ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี
    11. สำเนาหน้าบัญชีธนาคารแบบออมทรัพย์ ของผู้เอาประกันภัย/ ผู้อนุบาล
    12. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อนุบาล พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 
    13. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้อนุบาล พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 
    14. หนังสือรับรอง หรือหนังสือแต่งตั้งผู้อนุบาล
    15. สำเนาหน้าบัญชีธนาคารแบบออมทรัพย์ ของผู้เอาประกันภัย/ ผู้อนุบาล
    15. เอกสารแสดงความสัมพันธ์ กรณี ผู้รับผลประโยชน์ เป็น สามี/ภรรยา/บุตร เช่น ทะเบียนสมรส, หนังสือรับรองบุตร, สูติบัตรบุตร
    16. สำเนาหน้าบัญชีธนาคารแบบออมทรัพย์ ของผู้รับผลประโยชน์

  • สภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing Condition) คืออะไร?

    บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ สำหรับโรคร้ายแรงตามคำจำกัดความเพิ่มเติม(รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) ที่ยังมิได้รักษาให้หายก่อนวันที่กรมธรรม์ประกันภัยนี้เริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก เว้นแต่
    4.1 ผู้เอาประกันภัยได้แถลงให้บริษัททราบและบริษัทยินยอมรับความเสี่ยงภัยโดยไม่มีเงื่อนไขยกเว้นความคุ้มครองดังกล่าว หรือ
    4.2 กรมธรรม์ประกันภัยนี้มีผลบังคับต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยโรคร้ายแรงตามคำจำกัดความเพิ่มเติม(รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) นั้น ไม่ปรากฏอาการ ไม่ได้รับการตรวจรักษา หรือวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือไม่ได้พบ หรือปรึกษาแพทย์ในระยะเวลา 5 ปีก่อนวันที่กรมธรรม์ประกันภัยนี้เริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก

  • ภาวะโคม่า (Coma) คืออะไร?

    A: การสลบ หรือหมวดความรู้สึกที่ได้รับการวินิจฉัยโดยอายุรแพทย์ หรือประสาทศัลยแพทย์(Neurosurgeon) และตรวจพบลักษณะต่อไปนี้ครบทุกข้อ
    1) ไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างน้อย 96 ชั่วโมง
    2) ต้องอาศัยเครื่องช่วยชีวิตเพื่อพยุงชีพ
    3) ได้รับการประเมินว่าสมองถูกทำลายอย่างถาวร มีผลทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่งอย่างใดอย่างถาวร ภายหลัง 30 วันนับจากวันที่สลบหรือหมดความรู้สึก
    ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการสลบหรือหมดความรู้สึกที่มีสาเหตุโดยตรงจากการดื่มสุรา หรือใช้ยาในทางที่ผิด (Drug abuse)

กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ